Wednesday, February 7, 2007

วิเคราะห์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

วิเคราะห์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง




วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ ปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงจากการฝึกปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยน
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่ที่รับผิดชอบ
-วิธีการ 1) วิทยากรแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็น 6 กลุ่มคละ
2) ให้แต่ละคนวิเคราะห์การดำเนินงานของหมู่บ้านตนเองโดยใช้คุณลักษณะ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม เป็นกรอบในการวิเคราะห์ และเงื่อนไขการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ตามแบบฟอร์มที่วิทยากรแจกให้

สรุปภาพรวมการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
ความพอประมาณ ประกอบด้วย มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีกิจกรรมลดต้นทุนการผลิต(การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มทำอาหารปลาฯลฯ) กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมการผลิตเพื่อการบริโภค(การปลูกพืชผักสวนครัว ลดละเลิกอบายมุข
ความมีเหตุผล ประกอบด้วย การบริหารจัดการชุมชนโดยใช้หลักประชาธิปไตย และหลักการ
มีส่วนร่วม มีกฏระเบียบของชุมชน มีกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชน การอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีประเพณีวัฒนธรรมชุมชน มีความรักความสามัคคีในชุมชน มีการดูแลผู้สูงอายุ เด็กและผู้ด้อยโอกาส
ความมีภูมิคุ้มกัน ประกอบ มีกลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารข้าว มีสวัดิการชุมชน มีกองทุนในชุมชน มีร้านค้าชุมชน มีกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย มีแผนชุมชน มีเวทีประชาคม มีสารสนเทศ มีปราชญ์ชาวบ้าน มีศูนย์การเรียนรู้ มีครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง มีห้องสมุดชุมชน มีการให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน
เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีการปฏิบัติตามหลักศาสนา มีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ผู้นำชุมชน ชาวบ้านมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส คนในชุมชนขยันหมั่นเพียร ประหยัดอดออม
และจากการวิเคราะห์เงื่อนไขการทำงานของเข้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในการทำงานหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบด้วย ต้องใช้ความร่วมมือ การประสานภาคีการพัฒนา เป็นเรื่องของการให้ความรู้มากกว่าการใช้งบ การจัดประชุมเวทีประชาคมต้องทำกลางคืน ต้องทำงานเป็นทีม การต่อเนื่องของการทำงาน เจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเช่นพูดน้อยลงให้ชุมชนคิดเอง ต้องรับผิดชอบหลายหมู่บ้านทำให้ทำงานไม่สำเร็จ
วิทยากรสรุปเชื่อมโยง การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรต้องวิเคราะห์ภาพรวมของชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อไน รวมถึงศักยภาพของชุมชนจุดเด่น จุดด้อย ปัญหาอุปสรรค รวมถึงเงื่อนไขการทำงานของพัฒนากร เพื่อจะได้พิจารณาว่า ถ้าจะสร้างเงื่อนไขเพื่อขับเคลื่อนจะวางเป้าหมายไว้อย่าง ใช้วิธีการหรือกลยุทธอย่างไร สิ่งที่สำคัญในวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อกำหนดแนวทางการสนับสนุนการขับเคลื่อน คือ คำนึงถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ทุนกลุ่ม องค์กร ผู้นำ ทุนการจัดการต่างๆ รวมถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ เพราะปัจจุบันมีหลากหลายหน่วยงานและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง




ข้อสังเกตของทีมวิทยากร
- แต่ละกลุ่มได้ใช้วิธีการเชื่อมโยง ศก.พอเพียงได้ดี /สามารถนำกิจกรรมพัฒนาชุมชนมาอธิบายกับปรัชญาเศรษกิจพอเพียงได้-พัฒนากรมีความรู้ความเข้าใจจากการวิเคราะห์ลักษณะของหมู่บ้าน ศก.พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขจากการปฏิบัติวิเคราะห์ชุมชนของตนเอง
-ทำให้ทราบจุดอ่อน/จุดแข็ง/ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนหมู่บ้านมีเครื่องมีวิเคราะห์การทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
–ระยะเวลาน้อย/ไม่มีการบึกทึกข้อมูล
-การให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ละเอียดที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้9การกำหนดแผนขับเคลื่อน
-ทบทวนการวิเคราะห์หมู่บ้านศก.พอเพียงที่ได้ในประเด็น ทบทวนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
ของตนเองอีกครั้ง
-การแบ่งกลุ่ม บางจังหวัดมีจำนวนมาก ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วถึง
-สถานที่ไม่เอื้ออำนวย
-วิทยากรกลุ่มไม่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน
-ได้แนวทางการทำงาน/การขับเคลื่อนของแต่ละหมู่บ้านและระดับจังหวัด
-ได้รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่กำหนดจากเวทีของ จนท.ของปต่ละจังหวัด

No comments: