Wednesday, February 7, 2007

เวทีเขต 5

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพฯพัฒนากร 79 คนวันที่ 12-16 ธันวาาคม 2549
วัตถุประสงค์
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้หลักการและวิธีการจัดการความรื้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตอบสนองยุทธศาสตร์กรมฯ
-รู้เข้าใจ หลักการ ปรัชญา ศก.พอเพียง
-กระบวนการสรุปบทเรียน/ถอดองค์ความรู้
-ปรับกระบวนทัศน์กับการทำงานกับชุมชน
-มีแผนการทำงานขับเคลื่อน ศก.พอเพียงในรูป ศก.ชุมชน(ที่รับผิดชอบ)และทีมจังหวัด
สรุปบทเรียนประเด็น
1ทบทวนวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
2การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมเป็นอย่างไร
-อะไรที่ทำได้ดี
-อะไรที่ทำได้ไม่ดี
3ข้อคิดเห็นบทเรียน
4ข้อเสนอแนะ
เนื้อหา
1 เป้าหมาย/ยุทธศาสตร์ กรมฯ เขต /ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง
-การเชื่อมโยงประเด็นให้สอดคล้องกันยังไม่เหมาะสม/ประเด็นซ้ำ/การใช้สื่อ
-วิธีการนำเสนอ vdo อธิบดีไม่เหมาะสมควรวิเคราะห์และนำเสนอเนื่องจากมีเวลาจำกัด
-เป็นเนื้อหาน่าสนใจแต่เวลามีจำกัด
2 การวิเคราะห์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง/ทบทวนการทำงานในพื้นที่
-พัฒนากรถูกโยกย้าย
-ไม่ใช่พัฒนากรที่รับผิดชอบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงที่ได้รับงบประมาณปี 50
-บางจังหวัดคนมากไม่สามารถนำเสนอได้ทุกคน
-จังหวัดที่คนไม่มากทำได้ดีทุกคนวิเคราะห์ชุมชนของตนเองและมีการนำเสนอแลกเปลี่ยน
-พัฒนากรมีทัศนคติในทางลบจึงไม่สามารถวิเคราะห์หมู่บ้านของตนเองได้
-พัฒนากรบางคนคิดว่าทางหมู่บ้านที่รับผิดชอบดีอยู่แล้วไม่ต้องทำอะไร
-การวิเคราะห์ในภาพรวมของจังหวัดทำให้เห็นภาพการขับเคลื่อนชัดเจนยิ่งขึ้นและมีกำลังใจในการทำงาน
-การนำเสนอบางจังหวัดทนำเสนอเฉพาะหมู่บ้ายนพัฒนาที่ตนเองรับผิดชอบไม่ได้นำเสนอภาพรวมของจังหวัด แต่ทางจังหวัดเสนอภาพรวมของจังหวัดแต่เวลายกตัวอย่างจะนำเสนอภาพชุมชนของตนเอง
-พัฒนากรมีความรู้ความเข้าใจจากการวิเคราะห์ลักษณะของหมู่บ้าน ศก.พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขจากการปฏิบัติวิเคราะห์ชุมชนของตนเอง
-ทำให้ทราบจุดอ่อน/จุดแข็ง/ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนหมู่บ้านมีเครื่องมีวิเคราะห์การทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
3เวทีอภิปราย “การขับเคลื่อนชุมชนโดยชุมชน”
-การนำเสนอโดยการเล่าบางชุมชน บรรยายนานเกินไป เนื่องการตั้งประเด็นกว้างเกินไป
-บางชุมชนมีสื่อประกอบ ทำให้การนำเสนอนานเกินไป
-บรรยากาศมีการแลกเปลี่ยนกันน้อย/กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้
-วิทยากรมีความตั้งใจและเตรียมตัวมาดี
-การเชื่อมโยงเนื้อหาของผู้ดำเนินรายการเพื่อสรุปให้ผู้เข้ารับการฝึกอรมเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละหมู่บ้านยังไม่ชัดเจน
4การวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนชุมชน(บ้านปางจำปี,ดรสมคิด แก้วทิพย์)
-เนื้อหาเรื่องบางำปีเป็นการขับเคลื่อน เป็นเรื่องการขับเคลื่อนทรัพยากร ภาพการขับเคลื่อนตามหลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเด็นไม่ตรง เน้นงานวิจัยมากเกินไป
-ไม่ได้พูดก่อนให้วิทยากรเข้าใจในประเด็นการขับเคลื่อนชุมชน(สร้างความเข้าใจ)ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างพัฒนากรกับนักวิจัย ตามความจริงต้องเน้นให้เห็นถึงการวิเคราะห์การขับเคลื่อนชุมชน
-วิทยากร(ดร.สมคิด แก้วทิพย์)พูดภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ
5การจัดการความรู้(อ.สวิง ตันอุด)
-เนื้อหาสอดคล้องกับสถานการณ์และที่นำไปใช้ในการทำงานกับชุมชน
-การบรรยายไม่น่าเบื่อ สอดแทรกกับชีวิต มีตัวอย่างกับการวิจัย ทำให้ภาพชัดเจน
-เกิดทัศนคติที่ถูกต้องกับการทำงานกับนชุมชน
ขับเคลื่อชุมชน ที่ต้องให้เห็นถึงของทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ความเชื่อ วัฒนธรรม ในการนำไป
-ผู้บรรยายมีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน ทำให้เข้าใจในการนำเสนอเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมไปใช้
6การสรุปบทเรียนไข่
-เป็นกิจกรรมที่ดีทุกคนมีส่วนร่วม กระตือรือร้น สนุกสนาน เหมาะกับการเรียนรู้
-เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจ
-การให้โจกย์/ประเด็นในการระดมความคิด เชื่อมโยงกับการสร้างความเข้าใจเรื่องสรุปบทเรียน
-สามารถไปปรับใช้กับการวิจัยได้ /เข้าใจร่วม/ประเด็นชัดเจน
-บอกถึงวิธีการ,กระบวนการจัดเจน จากการปฏิบัติจริงทำให้เข้าใจง่าย เชื่อมโยงกับการสรุปร่วมกันของผู้เข้าอบรม
7การถอดองค์ความรู้
-ได้ปฏิบัติจริง
-ได้รู้วิธีการ/หลักการ/แนวทาง/-การป็นผู้ซักถาม-การเป็นผู้จดบันทึก
-การมีส่วนร่วมผู้เข้ารับการฝึกอบรม
-ได้ข้อคิด/บทเรียนจาการปฏิบัติ จาการสรุปร่วมกันเพื่อนำไปปรับใช้กับงใช้งานในพื้นที่
-เป็นกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง/การจัดการความรู้ที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม
-การกำหนดเรื่องเล่าของทางกลุ่มเป็นเรื่องที่ไม่เชื่อมโยงสู่การเรียนรู้
-ระยะเวลา/สถานที่ไม่เอื้ออำนวย/จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีมากเกินไป
-การสรุปเชื่อมโยงนำไปใช้ต้องใช้เวลามากกว่านี่
8.Best practice
–ระยะเวลาน้อย/ไม่มีการบึกทึกข้อมูล
-การให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ละเอียดที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้
9การกำหนดแผนขับเคลื่อน
-ทบทวนการวิเคราะห์หมู่บ้านศก.พอเพียงที่ได้ในประเด็น ทบทวนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
ของตนเองอีกครั้ง
-การแบ่งกลุ่ม บางจังหวัดมีจำนวนมาก ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วถึง
-สถานที่ไม่เอื้ออำนวย
-วิทยากรกลุ่มไม่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน
-ได้แนวทางการทำงาน/การขับเคลื่อนของแต่ละหมู่บ้านและระดับจังหวัด
-ได้รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่กำหนดจากเวทีของ จนท.ของปต่ละจังหวัด

No comments: