Wednesday, February 28, 2007




โครงการริเริ่มประสบผลสำเร็จเร็ว

โครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว ( Quick Win Initative )
นวตกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมแบบธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ ; องค์การมีศักยภาพและจริยธรรมสูง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ชื่อโครงการ เสริมสร้างความมีคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลของ ศพช.เขต 5
2. หลักการและเหตุผล
โลกยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง นับวันจะมีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นานาอารยะประเทศจึงให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในระบบราชการที่เป็นกลไกหลักของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ และในภาคเอกชนที่เป็นกลไกในการพัฒนาประเทศให้มั่งคั่ง
กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดนโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้า
สู่ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ และกำหนดเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมฯ
ปี 2550 ที่ ศพช.เขต 5 จะต้องนำมาปฏิบัติให้บรรลุผล ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความ
มีคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลของ ศพช.เขต 5 ขึ้น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลและการสร้างองค์การที่มีศักดิ์ศรีและจริยธรรมสู่ระดับบุคคล
2. เพื่อให้บุคลากร ศพช.เขต 5 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถประเมินสมรรถนะและประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง
3. เพื่อจัดระบบบริหารความเสี่งและการควบคุมภายในตามมาตรฐาน สตง.
4. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรของ ศพช.เขต ที่ปฏิบัติงาน
4. เป้าหมาย
1. บุคลากรภายใน ศพช.เขต พึงพอใจต่อการบริหารบุคคล
2. บุคลากรของ ศพช.เขต และ 6 จังหวัด พึงพอใจในบริการที่โปร่งใสเป็นธรรม
3. ระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
5. วิธีการ
1. วิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนา
2. จัดทำโครงการเสนอผู้อำนวยการพิจารณา
3. ประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ประเมินผล ก่อน – ระหว่าง – หลัง โครงการ
5. สรุปผล รายงาน



6. เนื้อหา / หลักสูตร
1. เป้าหมายรัฐบาลเรื่อง การเสริมสร้างข้าราชการมืออาชีพแบะคุณธรรมข้าราชการ ( 15 นาที )
2. เครือข่ายการบริหารทรัพยากรบุคคลในความคาดหวังของ อพช. ( 1 ชม. )
3. นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการพัฒนาชุมชน ปี 2549 – 2551 ( 40 นาที )
4. ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลแนวใหม่ โดยการประเมินสมรรถนะ
(ทักษะการประเมินตนเอง ) ( 3 ชั่วโมง )
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานระบบเปิดแบบสื่อสารสองทาง และการมีส่วนร่วมของ
ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ( ทักษะการมีส่วนร่วมของผู้บังคับบัญชาและ
ผู้ใต้บังคับบัญชา) ( 3 ชั่วโมง )
6. ระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ( ทักษะทีมงานกลุ่มงาน ฝ่าย ) ( 3 ชม.)

7. ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ
ผลผลิตที่ 1 ศพช.เขต 5 นำหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เป็นแนวทาง
ในการบริหารงาน
ผลผลิตที่ 2 ศพช.เขต 5 มีการบริหารงานเป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และ
ธรรมาภิบาล
8. ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 80 ของบุคลากรใน ศพช.เขต และ สพจ. 6 จังหวัด มีความพึงพอใจต่อการให้บริการที่โปร่งใสเป็นธรรม
2. ระดับความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในได้มาตรฐานของ สตง.
9. ความเชื่อมโยงกับนโยบายกรม / ความพร้อมของโครงการ
10. ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล / ฝ่ายอำนวยการ
11. ทรัพยากรที่ต้องใช้
1. การสนับสนุนจากกองการเจ้าหน้าที่ และหน่วยการตรวจสอบภายในของกรมฯ
2. บุคลากร เครื่องมือ ในการประเมินผลการบริหารงานของ ศพช.เขต
12. งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อๆ ละ 70 บาท / คน รวม 38 คน เป็นเงิน 5,320 บาท
2. ค่าอาหารว่าง 4 มื้อ ๆ ละ 25 บาท / คน รวม 38 คน เป็นเงิน 3,800 บาท
3. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน แบบพิมพ์ เป็นเงิน 3,000 บาท
4. วัสดุประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 1,500 บาท




13. ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ( Stakeholders ) หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ
1. บุคลากรของ ศพช.เขต 5
2. ผู้ใช้บริการจาก ศพช.เขต 5

14. โครงการที่เกี่ยวข้อง
1. โครงการ ศพช.เขต สะอาดเขียวขจี
15. ความเสี่ยง
1. บุคลากรแต่ละคนมีส่วนร่วมน้อยในการประเมินสมรรถนะ และประเมินความเสี่ยง
2. บุคลากร
16. ระยะเวลา 2 วัน รวม 12 ชั่วโมง

Wednesday, February 21, 2007

ติวสอบ นพก.

เครือข่ายนักพัฒนาเขต 5 ร่วมกับ นวช.กรมฯบางท่านจะให้ความช่วยเหลือ นักพัฒนาชุมชน ในการติวสอบ นพก.ในวันที่ 24 - 25 ก.พ.2550
กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล เขต 5 ขออวยพรทุกท่านให้สอบได้ สอบได้และสอบได้

Wednesday, February 14, 2007

การจัดทำเอกสาร 6 ว

ที่ มท 0410/ว ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการ-
พัฒนาชุมชนเขตที่ 5 ตู้ ปณ.9
อ.เมือง จ.ลำปาง 52000

กุมภาพันธ์ 2550

เรื่อง การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเอกสาร 6 ว

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด 6 จังหวัด



ตามที่ กรมการพัฒนาชุมชนมีนโยบายพัฒนาบุคลากรจัดทำเอกสารทางวิชาการ เพื่อทำการประเมินบุคลากรในการเลื่อนระดับการเข้าสู่ตำแหน่งผู้มีประสบการณ์ 6 ว ปีละ 2 ครั้ง ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 จะดำเนิการที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะการเขียนเอกสารทางวิชาการที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5 จึงใคร่ขอให้ท่านพิจารณามอบหมายให้พัฒนาการจังหวัดสำรวจบุคลากรที่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมินฯทั้ง 2 รุ่น ที่มีความประสงค์เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเอกสาร 6 ว โดยแจ้งให้ ศพช.เขต 5 ภายใน
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นางศิรินันท์ รักขติวงศ์)
นักวิชาการพัฒนาชุมชน 8 ว รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5



กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
โทรศัพท์ 0-5422-6739
โทรสาร 0-5422-1272 , สป.มท.28620

เวทีเขต 5ครั้งที่ 5/2550

เวทีเขตครั้งทื่ 5/2550 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง 1 การติดตามการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.และกชช.2 ค ปี 2550
2 ศก.พอเพียงเขต 5
3 ตัวชี้วัดศักยภาพชุมชน
ผู้เข้าร่วมเวที
1 นายวีระยุทธ มณีผาย
2 นายฐานนท์ ภู่กองพัน
3 นายสมศักดิ์ สันชมภู
4 นางอัญชลี ป่งแก้ว
5 นายบุญส่ง เวศยาสิรินทร์
6 นางทิพวรรณ แก้วทอง
7 นางวาสนา ชัยชนะทอง
8 นายสุทธิเกียรติ จันทพันธ์
9 นายพุทธิพงษ์ เจตนเสน
10 น.ส.พจณี พรหมจิตต์
11 น.ส.นิตยา พุทธา
12 นางพรรษา มนูญผล
13 นางวิชชุกร พงษ์ประเสริฐ
14 นางศิรินันท์ รักขติวงศ์
15 น.ส.เสาวนีย์ เกียรติศิริถาวร
16 น.ส.กาญจนา ทิพย์วิวัฒน์พจนา
การติดตามการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.และกชช.2 ค ปี 2550
- ทบทวนผลการติดตามฯปี 50 /ปัญหาอุปสรรค/ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ
จังหวัด
ปัญหาอุปสรรค
ข้อสังเกต
ข้อเสนอแนะ
6 จังหวัด
-คนขาดทักษะในการเก็บ
-เครื่องคอมฯรุ่นเก่า
-คนรับนโยบายกับคนเก็บคนละคนกัน
-โปรแกรมยุ่งยาก
-บางแห่งไม่มีสมุดจปฐ.
-บางแห่งไม่มีโปสเตอร์
-ผู้จัดเก็บควรยกเลิกสมุดสรุปจปฐ.เล่มเล็ก
-ข้อ 27 เพิ่มรายได้เป็น23,000 บาท
-ระยะเวลาการเก็บสั้น
-จนท.ใช้เครื่อง PCไม่ชำนาญ

-คนจัดเก็บช้า
-การสิ่อสารภาษา-จนท.มีงานเยอะ(ประมวลผล)
-โปรแกรมมีปัญหา
-ขาดการประชาสัมพนธ์
-โปรแกรมมีหลายแบบ
ทำให้ผู้ปฏิบัติสับสน
-ใช้แบบสอบถาม
-พก.เข้ากับอบต.ดี
-ศอช.ขับเคลื่อนเรื่องการกรอกชื่อ
-อบต.สนับสนุนงบและลงมือทำเอง
-ใช้ข้อมูลเฉพาะเรื่องรายได้
-ควรมีแรงจูงใจที่เหมาะสม
-การเปรียบเทียบระหว่างPPC กับ PC
โน็ตบุค
-PCไม่มีความสันพันธ์มีการถ่ายทอด
น้อยและมีข้อจำกัด
-PCสามารถประมวลผลได้ในตัวเองและมีการตรวจสอบข้อมูลในตัวเอง
-การฝึกอบรมทำความเข้าใจตัวชี้วัด
สรุป
คน



โปรแกรม



แบบสอบถาม



PC






ปี 50
-การทำความเข้าใจเรื่องตัวชี้วัดล่าช้า
-การอบรมให้ความรู้การจัดเก็บล่าช้า
-โปรแกรม จปฐ./เสร็จช้า/ไม่นิ่ง/พื้นที่ไม่สามารถจัดเก็บตามแผนได้/อบรมโปรแกรมไม่ได้/โปรแกรมมีการปรับปรุงเรื่อยๆขณะนี้นิ่งอยู่ในระดับหนึ่ง เข้าเว็บ cdd_05 หรือ SKYPEcdd_05
หรือสอบถามกรมฯโดยตรง
-เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้ด้าน PCและไม่มีเครื่อง
-แบบสอบถามมาล่าช้า
-รายละเอียดตัวชี้วัดแยะมาก
-ปัญหาเรื่องการโอนย้ายเจ้าหน้าที่
การติดตามในช่วงการจัดเก็บ(บันทึก/ประมวลผล) มค.-มีค. 50
1 ขั้นตอนการจัดเก็บ
-รูปแบบการจัดเก็บ
-ผลความก้าวหน้าทั้ง 3 กระบวนการ
-สรุปปัญหาอุปสรรค
2 การบันทึกข้อมูล จปฐ.
-ความก้าวหน้า
-การบันทึก
-ปัญหาอุปสรรค
3 การประมวลผล
-ความก้าวหน้า
-การบันทึก
-ปัญหาอุปสรรค
4 การจัดเวที(ไม่มีงบ)
-กระบวนการจัดเวที-ขั้นตอน/วิธีการ-ก่อน-ระหว่าง-หลัง
-คนเข้าร่วม
หน.คร.ทุกครัวเรือน/หน่วยงานอื่น
-บันทึก การจัดเวที
-ผลการจัดเวที
-กรณีที่ไม่มีแผนคราดว่าจะดำเนินการเมื่อไร
5 ประโยชน์ที่ได้รับ/ครัวเรือน/ชุมชน/อปท/หน่วยราชการ/หน่วยเอกชน
6 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
-ตัวชี้วัด เหมาะสม สอดคล้อง ครอบคลุมพื้นที่/ขิอเสนอแนะ เพื่มเติมหรือลดลง
-เปรียบเทียบจากการจัดเก็บด้วย


แผนการติดตามการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.กชช.2 ค ปี 50
จังหวัด
จำนวนวัน
คน
ระยะเวลา
ผู้ติดตาม
เชียงใหม่
4
2
13-16 มีค.50
วาสนา-นิตยา
เชียงราย
4
2
13-16 มีค.50.
ฐานนท์-วิชัย
ลำปาง
3
2
14-16 มีค.50
กาญจนา-พรรษา
ลำพูน
3
2
19-21 มีค.50
สุทธเกียรติ-อัญชลี
พะเยา
3
2
21-23 กพ.50
เสาวนีย์-วิชชุกร
แม่ฮ่องสอน
4
2
20-23 มีค.50
บุญส่ง-กิจวัฒน์

2 การติดตามศก.พอเพียง
-ตามคำสั่ง
-ประเด็นการติดตามตามแผนของจังหวัด/อำเภอ
-กระบวนการ/รูปแบบการขับเคลื่อน
-ใครเป็นผู้รับผิดชอบในระดับต่างๆตั้งแต่จังหวัดถึงพื้นที่
-ผลการขับเคลื่อนอย่างไร มีปัญหาหรือไม่มีข้อเสนออย่างไร
-ไตรมาส1 อย่างไร ไตรมาส2
-หมู่บ้านต้นแบบ จังหวัดละ 2 หมู่บ้านพร้อมรายละเอียด มีเหตุผลอย่างไร ตัวชี้วัด 6 + 2
-ฯลฯตามแบบฟอร์ม
ข้อเสนอแนะถึง ผอ. ควรให้ความรู้ในการถอดบดเรียนของนักวิชาการเขต/จังหวัดในวันพุธ 21 กุมภาพันธ์ 2550
-วิธีการอย่างไรในการถอดบทเรียน
-การขับเคลื่อนมีส่วนร่วมไหมย่างไร
-ท้องถิ่นดำเนินการอย่างไรบ้าง
-สิ่งที่ต้องการ/รูปแบบ/กระบวนการ/วิธีการ/การขับเคลื่อน
3 ตัวชี้วัดศักยภาพชุมชน จำนวน 4 ตัว

Sunday, February 11, 2007

เวทีเขต 5ครั้งที่ 3/2550

เวทีเขต 5 ครั้งที่ 3/2550 31 มกราคม 2550 ณ ห้องรับรอง
ประเด็น การติดตามการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.และกชช.2ค ปี2550
1 นายวีระยุทธ มณีผาย
2 นายเทพ วงศ์สุภา
3 น.ส.กาญจนา ทิพย์วิวัฒน์พจนา
4 นายวีระชาติ อรุณมาศ
5 นายฐานนท์ ภู่กองพัน
6 น.ส.นิตยา พุทธา
7 นางอัญชลี ป่งแก้ว
8 นางทิพวรรณ แก้วทอง
9 นางพรรษา มนูญผล
10 นายดำรง ใจยศ
11 นางศิรินันนท์ รักขติวงศ์
12 นางวิชชุกร พงษ์ประเสริฐ
13 นายกิจวัฒน์ ผุสดี
14 นายสุทธิเกียรติ จันทพันธ์
15 นายชูชาติ บุญธรรม
1 การจัดเก็บทุกพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและชนบท
2 การติดตามถึงระดับ อบต. บันทึกในคอมฯ
3 ประมาณ 30000 บาท
4 เริ่มติดตาม จปฐ.และกชช.2 คเดือน ก.พ. – มี.ค. 2550
5 จปฐ. เสร็จ 25 มีนาคม 2550
6 กชช.2 ค เสร็จ 25 พฤษภาคม 2550
7 แบบสรุปโปสเตอร์กรมฯจะจัดสรรมาให้
8 กรมฯเน้นเรื่องประชาคม
9 รายละเอียดจะทำแผนฯแจ้งในเวทีครั้งต่อไป
10 แบบ จปฐ.แผ่นขวางสอบถามพัฒนากรว่าดำเนินการในช่วงใด
11 ปัญหาอุปสรรคที่พบ
12 กชช.2 ค มี 2 ส่วน ติดตามที่ อบต. 1 หมู่บ้านมีเล่มเดียว
13 พุธหน้าจะเจาะรายละเอียด
14 ที่จังหวัดจะมีคำสั่งทั้งหมด พัฒนากรจะอยู่ในคณะทำงานระดับตำบล อำเภอ เพราะต้องประสานการจัดเก็บข้อมูล
15 เน้นผู้นำชุมชน กรรมการพื้นที่มีส่วนร่วม
16 เขตจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเพื่อส่งกรมฯ
17 โปรแกรมนิ่งแล้ว แต่ กชช.2 ค กำลังพัฒนาให้เสร็จในเดือนมกราคม 2550
18 โปรแกรมต้องพัฒนาเรื่อยๆ
19 เน้นการจัดเก็บแบบ Pocket PC ต้องลงเล่มสรุปครัวเรือนด้วยเพื่อปรินช์ให้ครัวเรือนได้ทราบ
20 อธิบายแบบฟอร์มการติดตาม
21 กรณีแม่ฮ่องสอนบางหมู่บ้านไม่สะดวกใช้ Pocket PC ก็สามารถพิมพ์แบบจัดเก็บเองได้
22 การติดตามงาน จปฐ. กชช.2 ค สามารถบูรณาการได้ใหม?
23 การติดตามงานคนในพื้นที่ได้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง?
ก็เป็นประโยชน์กับงานพัฒนาชุมชน ให้ คนพื้นที่พึงพอใจและเกิดความคุ้มค่า
24 พุธหน้าให้งานอื่นๆผนวกไปด้วย
25 ติดตามงานข้อมูล จังหวัดละ 3 อำเภอ
26 ไปเป็นทีมจังหวัดอย่างไร ต้องมีแผนปฏิบัติออกท้องที่ควรแจ้งแผนล่วงหน้าฯ
27 ต้องคุยกับปลัด อบต.เรื่องนโยบายการจัดเก็บเพื่อการเรียนรู้ของชุมชนและนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร? ทำข้อบังคับในเดือน มิถุนายน 2550 ฯลฯ ต่อไป
28 ข้อมูลเพื่อการยอมรับ ผ่านประชาคมและทีมจัดเก็บต้องยอมรับ
29 การจ้างนักศึกษาจัดเก็บแต่ต้องพยายามให้มีการมีส่วนร่วม
30 หลักการคือพัฒนากรประสานการจัดเก็บข้อมูล
31 พัฒนากรต้องมีอุดมการณ์และผู้บริหาร อบต.ต้องเห็นควรสำคัญ
32 พื้นที่ที่ไม่ยอมรับจะทำอย่างไร? พช.สามารถช่วยในระดับหนึ่ง
ควรจะนำมาพูดคุยกันหลังจากการติดตามกันดีกว่า
33ติดตามสรุปบทเรียนการติดตามด้วย เพื่อเตรียมการต่อไป
34 ครั้งต่อไปให้นำข้อมูลปีที่แล้วมาเข้าในเวทีเพื่อบูรณาการด้วย
35 การตั้งงบสนับสนุนของ อบต.
36 อยากทราบว่าอำเภอมีปัญหาอะไรบ้าง? เพื่อร่วมกันหาทางออก
37 ขอคุณชูชาตินำมาทำโปรแกรมทำกันเลยจะดีมาก
38 พยายามอธิบายในท้องถิ่นและการแก้ไขในทางบริหาร
39 การเพิ่มปัญหาจาก Pocket PC
40 การหา Best Practice ในการจัดการข้อมูล จปฐ. และกชช.2 ค
41 รวมข้อมูลเขตรายงานกรมฯหลายช่องทางเช่นBlog เป็นต้น
42 ปัญหาที่นำไปใช้เพื่อการปฏิบัติของข้อมูล
43 ฟังความคิดเห็นของพัฒนากรในการจัดเก็บข้อมูลจปฐ.กชช.2ค
44 เนื้อหาสาระของท้องถิ่นอาจจะมีใหม่ได้
45 ก่อนติดตามต้องพูดคุยกับพัฒนากรก่อน

Wednesday, February 7, 2007

วิเคราะห์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

วิเคราะห์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง




วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ ปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงจากการฝึกปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยน
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่ที่รับผิดชอบ
-วิธีการ 1) วิทยากรแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็น 6 กลุ่มคละ
2) ให้แต่ละคนวิเคราะห์การดำเนินงานของหมู่บ้านตนเองโดยใช้คุณลักษณะ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม เป็นกรอบในการวิเคราะห์ และเงื่อนไขการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ตามแบบฟอร์มที่วิทยากรแจกให้

สรุปภาพรวมการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
ความพอประมาณ ประกอบด้วย มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีกิจกรรมลดต้นทุนการผลิต(การทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มทำอาหารปลาฯลฯ) กิจกรรมวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมการผลิตเพื่อการบริโภค(การปลูกพืชผักสวนครัว ลดละเลิกอบายมุข
ความมีเหตุผล ประกอบด้วย การบริหารจัดการชุมชนโดยใช้หลักประชาธิปไตย และหลักการ
มีส่วนร่วม มีกฏระเบียบของชุมชน มีกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชน การอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีประเพณีวัฒนธรรมชุมชน มีความรักความสามัคคีในชุมชน มีการดูแลผู้สูงอายุ เด็กและผู้ด้อยโอกาส
ความมีภูมิคุ้มกัน ประกอบ มีกลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารข้าว มีสวัดิการชุมชน มีกองทุนในชุมชน มีร้านค้าชุมชน มีกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย มีแผนชุมชน มีเวทีประชาคม มีสารสนเทศ มีปราชญ์ชาวบ้าน มีศูนย์การเรียนรู้ มีครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง มีห้องสมุดชุมชน มีการให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน
เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีการปฏิบัติตามหลักศาสนา มีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ผู้นำชุมชน ชาวบ้านมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส คนในชุมชนขยันหมั่นเพียร ประหยัดอดออม
และจากการวิเคราะห์เงื่อนไขการทำงานของเข้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในการทำงานหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบด้วย ต้องใช้ความร่วมมือ การประสานภาคีการพัฒนา เป็นเรื่องของการให้ความรู้มากกว่าการใช้งบ การจัดประชุมเวทีประชาคมต้องทำกลางคืน ต้องทำงานเป็นทีม การต่อเนื่องของการทำงาน เจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเช่นพูดน้อยลงให้ชุมชนคิดเอง ต้องรับผิดชอบหลายหมู่บ้านทำให้ทำงานไม่สำเร็จ
วิทยากรสรุปเชื่อมโยง การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนากรต้องวิเคราะห์ภาพรวมของชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อไน รวมถึงศักยภาพของชุมชนจุดเด่น จุดด้อย ปัญหาอุปสรรค รวมถึงเงื่อนไขการทำงานของพัฒนากร เพื่อจะได้พิจารณาว่า ถ้าจะสร้างเงื่อนไขเพื่อขับเคลื่อนจะวางเป้าหมายไว้อย่าง ใช้วิธีการหรือกลยุทธอย่างไร สิ่งที่สำคัญในวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อกำหนดแนวทางการสนับสนุนการขับเคลื่อน คือ คำนึงถึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ทุนกลุ่ม องค์กร ผู้นำ ทุนการจัดการต่างๆ รวมถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ เพราะปัจจุบันมีหลากหลายหน่วยงานและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง




ข้อสังเกตของทีมวิทยากร
- แต่ละกลุ่มได้ใช้วิธีการเชื่อมโยง ศก.พอเพียงได้ดี /สามารถนำกิจกรรมพัฒนาชุมชนมาอธิบายกับปรัชญาเศรษกิจพอเพียงได้-พัฒนากรมีความรู้ความเข้าใจจากการวิเคราะห์ลักษณะของหมู่บ้าน ศก.พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขจากการปฏิบัติวิเคราะห์ชุมชนของตนเอง
-ทำให้ทราบจุดอ่อน/จุดแข็ง/ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนหมู่บ้านมีเครื่องมีวิเคราะห์การทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
–ระยะเวลาน้อย/ไม่มีการบึกทึกข้อมูล
-การให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ละเอียดที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้9การกำหนดแผนขับเคลื่อน
-ทบทวนการวิเคราะห์หมู่บ้านศก.พอเพียงที่ได้ในประเด็น ทบทวนหมู่บ้าน ศก.พอเพียง
ของตนเองอีกครั้ง
-การแบ่งกลุ่ม บางจังหวัดมีจำนวนมาก ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทั่วถึง
-สถานที่ไม่เอื้ออำนวย
-วิทยากรกลุ่มไม่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน
-ได้แนวทางการทำงาน/การขับเคลื่อนของแต่ละหมู่บ้านและระดับจังหวัด
-ได้รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่กำหนดจากเวทีของ จนท.ของปต่ละจังหวัด